head-banhardsumlan207
วันที่ 13 เมษายน 2024 2:57 PM
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207
โรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207
user

นายสังคม รุ่งเรือง

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207

โรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207

โรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207

โรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207 เป็นโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขต 2 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล จนถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่ง โรงเรียนบ้านหาดสำราญ มิตรภาพที่ 207 ได้ตั้งอยู่ที่ หมู่ 11 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

วิสัยทัศน์ (Vision)
โรงเรียนบ้านหาดสำราญมิตรภาพที่ 207 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีคุณธรรมนำความรู้ ก้าวทันเทคโนโลยี มีทักษะการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ชุมชน

พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ ให้ได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. พัฒนาผู้เรียนให้มี คุณธรรมนำความรู้ และดำรงชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. พัฒนาครูให้มีความรู้ มีคุณธรรม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ก้าวทันเทคโนโลยีและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
4. บริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีวิธีปฏิบัติและมีผลการดำเนินงาน ในการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
เป้าประสงค์ (Goal)
1. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตน
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง มีสุข มีทักษะการดำรงชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีไทยและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
5. โรงเรียนมีความเข้มแข็ง ชุมชนในท้องถิ่นสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

 

 

นานาสาระ

เรื่อง ตำนานพระแก้วมรกต พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระคู่บ้านคู่เมืองและคู่บารมีพระมหากษัตริย์ไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ภายในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

 

ลักษณะของพระแก้วมรกต 

พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักมาจากหินหยกอ่อนสีเขียวมรกตทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปที่มีศิลปะก่อนที่จะถึงสมัยเชียงแสน มีหลักฐานการพบที่อ้างอิงและสามารถที่จะระบุได้ว่าพบครั้งแรก ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันนี้คือวัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย)  โดยตามตำนานได้กล่าวว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1977 ได้เกิดฟ้าผ่าลงที่องค์เจดีย์จนพังทลายลงมาทั้งองค์ ชาวบ้านจึงได้พบพระพุทธรูปที่พอกองค์ไว้ด้วยปูนมีการลงรักปิดทองให้เห็น แต่ยังไม่ทราบว่าองค์จริงเป็นเช่นไร ต่างได้อัญเชิญไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนที่พอกไว้ที่บริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออกทำให้เห็นองค์จริงเป็นเนื้อแก้วมรกต จึงกะเทาะปูนออกทั้งองค์ จึงได้เห็นเนื้อในขององค์พระเป็นเนื้อหยกสีเขียวมรกตทั้งองค์ที่ยังมีลักษณะสมบูรณ์

 

ความทราบถึงพระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเมืองเชียงใหม่ถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้คิดที่จะอัญเชิญให้มาประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงใหม่ แต่ช้างทรงขณะนั้นกลับเดินไปทางเมืองลำปางไม่ได้ไปทางเมืองเชียงใหม่ตามที่ควาญบังคับ เป็นช้างที่มีพระแก้วมรกตประทับอยู่บนหลัง พระเจ้าเชียงใหม่ทรงเห็นว่าเมืองลำปากก็ไม่ใช่อื่นไกล เป็นอาณาจักรทางเหนีอเช่นกันได้แก่อาณาจักรล้านนา จึงได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ครั้นพาถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตให้กลับมาที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีการสร้างปราสาทเป็นให้เป็นที่ประดิษฐาน แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ต่อมาพระเข้าไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้างซึ่งเป็นพระญาติกบราชวงศ์ล้านนาขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองหลวงพระบางจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย โดยไปพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอพระแก้วมรกตคืน แต่ก็ได้คือมาเฉพาะพระพุทธสิหิงค์องค์เดียวเท่านั้น

 

เมื่อทางล้านช้างได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เวียงจันทร์ได้เชิญพระแก้วมรกตมาด้วย ครั้นต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีของไทยหลังจากกู้เอกราชเมื่อ พ.ศ. 2310 พระองค์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมด้วยพระบางมาจากอาณาจักรล้านช้าง เมืองเวียงจันทร์ด้วย โดยนำมาประดิษฐานไว้ที่วันอรุณราชวราราม ต่อมาเพื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ร.1 แห่งราชวงศ์จักรีได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต หรือพระมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งบางกอก และได้นำพระแก้วมรกตมาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางพระองค์ได้ทรงคืนกลับไปให้แก่ประเทศลาวอย่างเดิม

 

ตำนานเครื่องทรง 3 ฤดูของพระแก้วมรกต

เครื่องทรงของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นเครื่องทรง 3 ฤดู เนื่องจากเป็นพระศักดิ์คู่บ้านคู่เมืองและเป็นศูนย์รวมจิตใจชองพุทธศาสนิกชน ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เครื่องทรงแรกเริ่มได้จัดทำขึ้นด้วยแรงศรัทธาในพระลบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปฐมวงศ์ราชวงจักรี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เครื่องทรงทั้ง 3 ฤดู มีสภาพเก่ามากและชำรุดยากแก่การซ่อมแซมหรือบูรณะให้เหมือนเดิมเพื่อให้กลับมาสวยงามดังเดิมได้ ประจวบกับในช่วงเวลานั้นเป็นวโรกาสมหามงคลที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครง 50 ปีในวันที่ 9 มิ.ย. 2539 กรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าภาพใหญ่ในการดูแลรักษาเครื่องทรงของพระแก้วมรกต ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกต 3 ฤดูขึ้นใหม่แทนเครื่องทรงชุดเดิม ทั้งนี้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ ร.9 ในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปีด้วย โดยได้ใช้เป็นเครื่องทรงตลอดมาถึงปัจจุบัน

 

เครื่องทรงพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 3 ฤดู

ทางกรมธนารักษ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้นำออกแสดง ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ ในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างที่อยู่ในช่าวรอการผลัดเปลี่ยนตามฤดูกาล โดยเครื่องทรงทั้ง 3 ฤดูมีสภาพเก่าและชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เนื่องจากมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี ซึ่งได้ผ่านพิธีการฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีมาแล้ว สำนักพระราชวังได้ทำการซ่อมแซมเครื่องทรงทั้ง 3 ฤดูในส่วนที่ชำรุดอย่างสุดความสามารถ แต่ด้วยเป็นศิลปะโบราณมีความละเอียดอ่อนและบอบบาง โดยเฉพาะเป็นฝีมือช่างเก่าในสมัยปลายอยุธยา จึงยากแก่การเก็บรักษาและหาช่างที่มีฝีมือเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

 

จึงสุดที่จะซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ กรมธนารักษ์จึงได้ปรึกษากับเลขาธิการสำนักพระราชวัง และผู้เชียวชาญในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความเห็นตรงกันว่าสมควรที่จะดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงขุดใหม่ให้เหมือนเดิม ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาลโบราณราชประเพณีต่อไป รวมทั้งเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่กัวในวโรกาสมหามงคลกาญจนาภิกเษกด้วย จึงได้นำความขึ้นกราบทูล เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้จัดสร้าง เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชานุญาตเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา

 

สำหรับเครื่องทรงชุดเดิมได้นำมาเก็บรักษาไว้เป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่า และจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระแก้ว พร้อมเครื่องทรงชุดใหม่ หรือเครื่องทรงที่มิได้ทรง ก็จะได้เก็บรักษาและจัดแสดงไว้ด้วย ทั้งนี้ทั้งหมดอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชม โดยเปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยกเว้นวันที่มีพระราชพิธี องค์ประกอบของเครื่องทรงพระแก้วมรกตชุดปัจจุบัน แบ่งเป็นเครื่องทรง 3 ฤดูดังนี้

 

เครื่องทรงฤดูหนาว ใช้อัญมณีในการจัดสร้าง มีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 6,179.87 กรัม โดยมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้ อัญมณี  15,868 เม็ด น้ำหนัก 2,863.44 กะรัต น้ำหนักของเครื่องทรง 572.68 กรัม น้ำหนักลงยา 27.69 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 5,579.50 กรัม  

 

เครื่องทรงฤดูร้อน ใช้อัญมณีในการจัดสร้างมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 7,737.80 กรัม โดยแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ อัญมณีเครื่องทรง 6,297 เม็ด น้ำหนัก 2,132.81 กะรัต น้ำหนักเครื่องทรง 426.56 กรัม น้ำหนักลงยา 166.24 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 7,145.0 กรัม เครื่องทรงฤดูฝน ใช้อัญมณีในการจัดสร้างทั้งสิ้น 8,206.38 กรัม โดยแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ อัญมณี 15,388 เม็ด น้ำหนัก 694.98 กะรัด น้ำหนัก 139.0 กรัม น้ำหนักลงยา 153.54 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 7,913.84 กรัม

 

พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของบ้านเรามาเป็นเวลาช้านาน เรียกได้ว่ากว่าที่จะได้มาเป็นกรรมสิทธินั้น ต้องผ่านเรื่องราวทางการศึกสงครามหลายยุคหลายสมับ รวมทั้งยังต้องพึ่งพาพระบารมีและบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์ในหลายพระองค์อีกด้วย

 

Banner 1
Banner 2
Banner 3
Banner 4